เมื่อสัตว์เป็นนักบิน


 เมื่อสัตว์เป็นนักบิน
           การเดินทางในอวกาศนอกโลกบางครั้งก็ไม่ใช้เรื่องง่ายๆ
            รู้ไหมครับว่าจากอดีตถึงปัจจุบันมีสัตว์หลายตัวต่างซวยกันทั่วหน้าเพราะถูกจับส่งไปในอวกาศมาแล้ว ตั้งแต่หนูไปจนถึงชิมแปนซี และแม้กระทั่งประเทศฝรั่งเศส ก็เคยเตรียมแมวบ้านสำหรับโครงการอวกาศเช่นเดียวกัน
           แต่จะว่าซวยก็ไม่ได้ เพราะสัตว์ทดลองเหล่านั้น เป็นสัตว์ที่เข้ามาช่วยทดสอบ สภาวะต่างๆ ในอวกาศซึ่งนักวิทยาศาสตร์ไม่สามารถจำลองให้เกิดขึ้นบนโลกได้ คนทั่วไปไม่รู้จัก เช่นสภาพไร้น้ำหนัก และความเครียดที่จะมีต่อสิ่งมีชีวิตในยามที่ต้องเดินทางไปสู่อวกาศ ฯลฯ ถือได้ว่ามีบุญคุณใหญ่หลวงแก่มนุษย์เลยที่เดียว
             สงครามเย็นจุดเริ่มต้นของนักบินจำเป็น            
             หลายท่านน่าจะจำได้ว่า สัตว์ตัวแรกที่ท่องอวกาศตัวแรกของโลกคือหมาถูกส่งไปกับดาวเทียมสปุ-ตนิก 2 ของรัสเซีย มันชื่อ ไลก้า หน้าตาก็เป็นหมาน้อยแสนจะธรรมดานี่เอง แต่ถึงอย่างไรมีความเป็นไปได้มากว่า ที่รัสเซียได้ส่งหมาติดไปกับจรวดอีกหลายครั้ง แต่จรวดอาจจะระเบิดบ้าง หมาอาจจะตายบ้าง ซึ่งเรื่องอะไรจะป่าวประกาศให้ขายขี้หน้าตัวเอง เลยอุปเงียบเอาไว้
             ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 โลกแบ่งคั่วอำนาจเป็น 2 ข้าง คือระหว่าง โซเวียตรัสเซีย กับสหรัฐอเมริกา เค้าวัดความเป็นมหาอำนาจกันง่าย ๆ ชาติไหนมีระเบิดนิวเคลียร์ ชาตินั้นก็กลายเป็นมหาอำนาจ แต่มีแล้วก็ไม่ใช่ว่าจะใช้ระเบิดกันง่าย ๆ นะครับ ไม่ใช่ว่าพอเกลียดขี้หน้ากันก็เอาระเบิดใส่เครื่องบินทิ้งใส่กันเหมือนคราว ฮิโรชิมา นางาซากิ ทำอย่างนี้ไม่ได้แล้ว เพราะต่างเริ่มมีเรดาร์ใช้กันแล้ว ใครหน้าไหนแปลกปลอมบินส่งเดชล้ำเส้นเขตแดนเข้ามา สามารถรู้ล่วงหน้าก่อนเป็นชั่วโมง
               คงจำกันได้ว่า ประเทศที่ทำจรวดเล่นยิงใส่ชาวบ้านมากที่สุดคือ เยอรมัน พอสิ้นสงครามเยอรมันแพ้ นักวิทยาศาสตร์ และวิศวกรจรวดก็ถูกต้อนไปโดยรัสเซียบ้าง สหรัฐอเมริกาบ้าง จับเอาไปช่วยพัฒนาจรวดไว้ฆ่าคน ด้านข้อมูลต่างๆ ของทางรัสเซียค่อนข้างเก็บเป็นความลับ แต่ของทางสหรัฐอเมริกาน่าจะเปิดเผยกว่า ในเมื่อสหรัฐอเมริกาได้ตัววิศวกรชาวเยอรมัน และได้จรวด V-2 มา ก็เริ่มบรรเลงบทเพลงอวกาศกันเลย พอสงครามเลิก ปี ค.ศ.1945 - ปีค.ศ.1946 สหรัฐอเมริกาเริ่มมองไปข้างหน้าว่า จะใช้จรวดส่งมนุษย์ไปอวกาศให้ได้ จึงเริ่มโครงการนี้ทันทีด้วยการจับสิ่งมีชีวิตยิงไปกับจรวดแล้วดูว่าจะรอดหรือไม่ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2
                นักบินจำเป็น
                สิ่งมีชีวิตโชคร้ายชนิดแรกที่ส่งไปท่องอวกาศ รู้ไหมครับว่ามันคืออะไร มันก็ได้แก่ แมลงวันผลไม้ครับ จรวดพาแมลงวันขึ้นไปสูง 180 กม. แล้วก็หล่นลงมาด้วยร่มชูชีพ รายงานไม่แจ้งว่า แมลงวันรอดหรือไม่
                ต่อมาในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1948 มีนักบินอวกาศ (ผู้โชคร้าย) ตัวแรกเป็นลิงวอก ชื่ออัลเบิร์ต หมายเลข 1 ถูกวางยาสลบแล้วจับใส่ ไปกับจรวด ในยุคแรกๆ ที่ยังไม่มีโปรแกรมสำหรับการฝึกสัตว์ให้เป็นนักบิน ต้องอาศัยนักพฤติกรรมศาสตร์ นักวิทยาศาสตร์ และวิศวกรผู้ออกแบบยานมาทำงานร่วมกัน ต้องใช้เวลาและทรัพยากรมากมาย ลำพังการออกแบบแคปซูลสำหรับบรรจุสิ่งมีชีวิตไปในอวกาศนี้ก็ยุ่งชะมัด
                ตัวแคปซูลต้องปรับความดันอากาศและอุณหภูมิให้ใกล้เคียงกับผิวโลก ( ก็ในอวกาศไม่มีอากาศให้หายใจแถมอุณหภูมิ ก็ติดลบเป็นร้อยองศา ) แคปซูลต้องมีประตูที่ผนึกแน่นหนา ต้องมีถังออกซิเจน ต้องมีที่ดูดแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ ต้องมีเครื่องปรับอากาศ ต้องมีที่เก็บฉี่เก็บอึ มีอุปกรณ์วัดสัญญาณชีพต่างๆ เช่น อัตราเต้นหัวใจ คลื่นหัวใจ อัตราการหายใจ ความดันเลือด
ตอนนั้นอุปกรณ์อิเล็กโทนิกที่ใช้ขยายสัญญาณมีแต่ หลอดสูญญากาศ ทรานซิสเตอร์ก็ยังไม่เกิด คอมพิวเตอร์ยังเครื่องใหญ่เท่าบ้าน เจ้าหลอดสูญญากาศนี่ก็เกเรบ่อยกระทบกระเทือนแรงๆ หลอดก็ขาด คลื่นไฟฟ้าที่ออกจากร่างกายมีค่าแค่ 5-6ไมโคโวลท์ (1ไมโคโวลท์ =1 ในล้านของโวลท์ ) จึงต้องมีอุปกรณ์ขยายสัญญาณไฟฟ้าเล็กๆ นี้ แล้วส่งเป็นคลื่นวิทยุกลับมายังสถานีบนโลก การออกแบบและบรรจุของสารพัดให้ใส่ในแคปซูลได้ก็ต้องนับว่าสุดยอดแล้ว
                ผลปรากฏว่า เจ้าลิงอัลเบิร์ต หมายเลข 1 ซี้แหงแก๋ เพราะสำลักควันจรวด หลังจากทำการทดลองล้มเหลวในครั้งแรก จึงต้อง ออกแบบแคปซูลใหม่ทำให้เสียเวลาไปอีกหนึ่งปี
               ต่อลิงที่ขึ้นสู่อวกาศก็มี อัลเบิร์ต II, III และ IV โดยแยกกันคนละเที่ยวบิน ลิงแต่ละตัวจะนั่งไป ในส่วนปลายแหลมของจรวด ข้อสังเกตในกรณีนี้ประการหนึ่งคือ ลิงตัวแรกมีชื่อว่าอัลเบิร์ตซึ่งมี ความเป็นมนุษย์อยู่ แต่ลิงตัวต่อๆ มากับมีชื่อที่ลงท้ายด้วยหมายเลข ซึ่งบ่งบอกถึงความเป็นมนุษย์ ที่น้อยลงสำหรับการทดลอง แต่ลิงทุกตัวในโครงการนี้ล้วนประสบชะตากรรมเดียวกัน นั่นก็คือ สามารถเอาตัวรอดได้ในขาขึ้น ไม่แสดงอาการเจ็บป่วยขณะอยู่บนนั้น แต่พวกมันไม่อาจรักษาชีวิตในขาลงเอาไว้ได้ด้วยเหตุที่ร่มชูชีพไม่ทำงาน พวกมันเสียชีวิตจาก การตกกระแทกกับพื้นโลก บางตัวกลายเป็นลิงย่างไปเลย
                สัตว์ต่อมาเป็นหนูขาวครับ คราวนี้ติดกล้องถ่ายหนังไปด้วย ได้บันทึกภาพในขณะที่หนูอยู่ในสภาวะไร้น้ำหนัก แต่หนูตายหมดตอนแคปซูลกระแทกพื้น ………..
                ถัดจากนั้นไม่กี่ปี กองทัพอากาศสหรัฐฯ ได้ส่งจรวดแอโรบีขึ้นจากฐานทัพอากาศ ฮัลโลแมนในนิวเม็กซิโกเมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2494 เที่ยว-บินนี้ได้นำลิงที่ชื่อ โยริก กับหนูอีก 11 ตัวขึ้นไป จรวดได้ขึ้นไปสูงถึง 72 กิโลเมตร หลังจากกระพื้นหนูยังอยู่ดีแต่ลิงตายจากแรงกระแทกขณะลงพื้นหนูชุดนี้นับว่าเป็นนักบินอวกาศตัวเป็นๆชุดแรกที่รอดมาได้หลังยานแตะพื้น รวมทั้งยังกลับมาสู่โลกโดยไม่เสียชีวิตอีกด้วย (อันที่จริงชื่อโยริกนี้เป็นชื่อเดียวกับตัวละคร ในเรื่องแฮมเล็ตของเช็คสเปียร์ ในองค์ที่ 5 ฉากที่ 1)
                การทดลองส่งสิ่งมีชีวิตไปยังขอบอวกาศในช่วงแรกนี้ต้องสะดุดไปเป็นเวลาถึง 6 ปี เพราะกองทัพอากาศสหรัฐฯหันไปทำการศึกษาเกี่ยวกับขีปนาวุธและระบบป้องกันภัยต่างๆ
               โครงการแอโรบีสิ้นสุดลงในเที่ยวบินสุดท้ายที่ส่งขึ้นในวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2495 โดยมีผู้โดยสารเป็นหนู 2 ตัวคือ มิลเดร็ด กับ อัลเบิร์ต และลิงฟิลิปปินส์อีก 2 ตัว คือ แพทริเชีย กับ ไมค์ พวกมันขึ้นไปที่ระดับ 58 กิโลเมตร และได้รับการเฝ้าดูด้วยกล้องวิดีโอ ที่ติดตั้งอยู่กับจรวด นักวิทยาศาสตร์ของกองทัพได้สังเกตผลของความเร่ง, สภาวะไร้น้ำหนัก และผลของการลดความเร่งผ่านกล้องนี้ และเพื่อศึกษาผลที่เกิดขึ้นจากการเคลื่อนที่ของจรวด ด้วยความเร็ว 3,220 กิโลเมตรต่อชั่วโมง แพทริเชีย กับไมค์ ก็ต้องถูกรัดตัวติดกับที่นั่งที่เตรียมไว้ (ในขณะที่มิลเดร็ดกับอัลเบิร์ตลอยเท้งเต้งในที่ของมันเมื่ออยู่ในสภาพไร้น้ำหนัก) หลังจากจบภารกิจแล้ว ลิงทั้งสองตัวก็ได้รับการเกษียณอายุไปอยู่ที่สวนสัตว์แห่งชาติในกรุงวอชิงตัน และก็อยู่กันอย่างมีความสุขนับแต่นั้นมา(โชคดีไป)
                 ในขณะเดียวกัน สหภาพโซเวียตก็ทำการศึกษาการส่งสุนัขขึ้นสู่วงโคจรรอบโลก การทดลองของ รัสเซียใช้สุนัขถึง 9 ตัวในฐานะเป็น สุนัขอวกาศรวมไปถึงการใช้ชุดอัดอากาศในห้องไร้ความดันด้วย สุนัขของโซเวียตสองตัวที่อยู่ในการทดลองนี้คือ อับบินา และ ทซีแกงกา ซึ่งมันได้ขึ้นไปยัง ขอบบรรยากาศของโลก และสามารถดีดตัวออกมาได้อย่างปลอดภัยในขากลับสู่โลก และโซเวียตได้ทำสถิติส่งสัตว์ขึ้นไปได้ที่ระดับความสูงถึง 483 กิโลเมตร ทั้งหมดนี้ก็เพื่อ เตรียมการสำหรับการเขย่าโลกในปี พ.ศ. 2500 ที่จะตามมา นั่นก็คือการส่งดาวเทียมสปุตนิก 1 และ สปุตนิก 2 ขึ้นสู่วงโคจรรอบโลก นับเป็นประวัติศาสตร์อวกาศครั้งแรกของการบุกเบิกอวกาศ
                  เมื่อถึงปี พ.ศ. 2500 โซเวียตเองก็มีความมั่นใจในเที่ยวบินสู่อวกาศของพวกเขา และก็พร้อมที่จะส่งยานอวกาศที่มีสิ่งมีชีวิตไปยังวงโคจรด้วย หลังจากการส่งดาวเทียมดวงแรก ในวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2500 แล้ว โซเวียตก็เริ่มส่งสุนัขขึ้นไปกับดาวเทียมสปุตนิก 2 ในวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2500 สุนัขที่ส่งขึ้นไปนั้นเป็นสุนัขไซบีเรียน ฮัสกีมีชื่อว่า ไลก้า
                   มันชื่อไลก้า
                  เชื่อหรือไม่ว่า ฮัสกีตัวนี้เป็นสุนัข ที่ถูกจับมาจากข้างถนนในกรุงมอสโก นั่นเอง!
                  สหภาพโซเวียตได้เปิดตัวไลก้าสู่สาธารณะในวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2500 ซึ่งไลก้าได้ส่งเสียงเห่าใส่ไมโครโฟนสำหรับการถ่ายทอดวิทยุ นั่นเป็นที่มาของชื่อของมัน เนื่องจากคำว่าไลก้าแปลว่า เห่า ส่วนชื่อของไลก้าที่สื่อมวลชนฝั่งอเมริกาตั้งให้เล่นๆ ก็คือ มุตนิก
                 ในภารกิจนี้ ไลก้าต้องนั่งไปในยานหนัก 509 กิโลกรัมที่มีเครื่องมือวัดทางวิทยาศาสตร์หลายอย่าง มีระบบเกื้อชีวิต ไลก้าเองถูกยึดให้อยู่ในที่ที่ มันขยับได้เพียงแค่ไปให้ถึงอาหารและน้ำเท่านั้น นอกจากนั้นที่ตัวมันก็ยังต้องติดขั้วไฟฟ้าสำหรับวัดความดันเลือด อัตราการเต้นของหัวใจ และอัตราการหายใจด้วย
                 โซเวียตใช้จรวด SS-6 ในการส่งสปุตนิก 2 ขึ้นสู่อวกาศจากฐานอวกาศในไบคานัว (ปัจจุบันเป็นเขตของประ-เทศคาซัคสถานและยังใช้ในการส่งยานอวกาศอยู่) คราวนี้สปุตนิก 2 ขึ้นไปสูงกว่าสปุตนิก 1 เกือบ 2 เท่านั่นคือขึ้นไปที่ระดับความสูง 1,671 กิโลเมตร ซึ่งไลก้าเองก็ไม่ได้รับอันตรายใดๆ และแม้ว่าจะมีการยึดตัวไลก้าให้อยู่กับที่ไว้ มันก็สามารถกิน ดื่ม เห่า ขยับไปรอบๆ ได้ ในตอนที่มันอยู่ในสภาวะไร้น้ำหนัก 
                  อย่างไรก็ตาม ยานสปุตนิก 2 ไม่ได้ออกแบบ ให้กลับสู่โลกอย่างสมบูรณ์ เรื่องของไลก้า จึงจบลงด้วยโศกนาฏกรรมที่เราไม่รู้แน่ชัดนัก ผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่ประเมินว่า ไลก้ามีชีวิตอยู่ได้ ระหว่าง 4-10 วันในวงโคจร(บางข้อมูล 7 วัน) บางคนก็บอกว่า อาหารมื้อท้ายๆ ของเธอ(ไลก้า)มีภาวะเป็นพิษ บางส่วนก็อ้างว่าไลก้าขาดออกซิเจนเมื่อแบตเตอรี่ ของระบบเกื้อชีวิตหมด แต่ไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์ไหนก็ตาม สปุตนิก 2 อยู่ในวงโคจรนาน 163 วัน โคจรรอบโลกครบรอบในเวลา 1 ชั่วโมง 42 นาที รวม 2,370 รอบ แล้วในท้ายสุด โลงศพของไลก้าก็ตกลงสู่โลกและไหม้สลายหมดไปในอากาศเมื่อวันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2501
                  40 ปีให้หลัง อนุสาวรีย์ของสุวานอวกาศก็ได้มีการสร้างขึ้นนอกกรุงมอสโก โดยมีรูปของมันเห่าขณะสวมชุดนักบินอวกาศอยู่

                 
                 เดือนธันวาคม ค. ศ. 1958 อเมริกาส่งลิงกระรอก ชื่อ กอรโด ไปกับจรวดจูปิเตอร์ ไปโคจรแบบไม่เต็มรอบแล้วตกลงมา คราวนี้จรวดออกแบบให้ตกในทะเล โชคร้ายที่ระบบลอยตัวของยานเสีย กอรโดเลยจมบุ๋งๆๆ หายไปกับยานใต้ท้องทะเล
                        เดือนพฤษภาคม ปี ค.ศ. 1959 สหรัฐส่งลิงไปกับจรวดจูปีเตอร์อีก คราวนี้ 2 ตัว เป็นลิงวอก ชื่อเอเบิล กับลิงกระรอกชื่อ เบเคอร์โคจรไม่ครบรอบลงมา โชคดีไม่ตาย แต่โชคร้ายที่เจ้าเอเบิลตายตอนวางยาสลบจะเอาเครื่องมือวัดออกจากร่างกายตอนนี้…………..ซวยไป                     ถัดมาก็เป็นคราวของ นาย และ นางแซม ลิงรีซัสอีกคู่หนึ่ง ในโครงการลิตเติล โจ โดยลิงตัวผู้ขึ้นไปก่อนเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2502 โดยแซมเดินทางเป็นระยะทาง 88 กิโลเมตรในอวกาศ ภารกิจนี้เป็นการทดสอบที่นั่งและชุดอุปกรณ์สำหรับความเร่งสูงซึ่งจะนำมาใช้ ในโครงการเมอร์คิวรีในเวลาต่อมา หลังจากจบเที่ยวบิน เรือรบยูเอสเอส บอรีก็ได้นำตัวแซมขึ้นจาก มหาสมุทรแอตแลนติกบริเวณนอกแหลมแฮตเทอราส นอร์ท แคโรไลนา
                     ครูฝึกของแซมรายงานด้วยว่า แซมดีใจมากในตอนที่มันพบกับคุณนายแซมเมื่อมันไปถึงห้องทดลอง
                      แฮม                
                      หลังจากนั้น 6 เดือน พวกเขาก็ลองอีกครั้ง คราวนี้เป็นการส่งลิงรีซัสเพศเมียชื่อ เอเบิล และลิงสเควอเรล ชื่อ เบเคอร์ ไปกับจูปิเตอร์ เอเอ็ม-18 ในภารกิจแบบเดิม ความสูงของการทดลองนี้อยู่ที่ 483 กิโลเมตร โดยเคลื่อนที่ด้วยความเร็วมากกว่า 16,000 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ลิงทั้งคู่เผชิญกับสภาพไร้น้ำหนักเป็นเวลา 9 นาทีก่อนจะกลับสู่โลกได้อย่างปลอดภัย แต่นักวิทยาศาสตร์ต้องผ่าตัดนำเครื่องวัดสัญญาณชีพ ออกจากลิงทั้งสองตัว โชคร้ายที่เอเบิลต้องเสียชีวิตในการผ่าตัดครั้งนี้
                     31 มกราคม พ.ศ. 2504 สหรัฐ-อเมริกาได้ส่งชิมแปนซีไปบินกึ่งโคจรอีกครั้ง ลิงที่ได้รับเกียรตินี้(หรือเปล่า?) ชื่อว่าแฮม โดยมันขึ้นไปกับยานเมอร์คิวรีด้วยจรวดนำส่งเรดสโตนจากฐาน ณ แหลมคานาเวอรอล ฟลอริดา                  
                   แฮมเป็นชิมแปนซีอายุ 4 ปี มันกับพวกๆ อีกจำนวนหนึ่งผ่านการฝึกฝนให้ดึงชุดคันบังคับให้ถูกลำดับ สำหรับการทดสอบในภารกิจนี้คือ การพิสูจน์ว่าสิ่งมีชีวิตสามาถทำงานได้ในช่วงการทะยานขึ้นฟ้า ในช่วงภาวะไร้ น้ำหนัก และในช่วงกลับสู่โลก
                 ยานอวกาศในเที่ยวบินนี้พบกับปัญหาอีกจนได้ ทำให้มันเคลื่อนที่ไปด้วยความเร็ว 9,429 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ซึ่งเร็วกว่าที่วางแผนไว้ถึง 2,345 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ความเร็วที่เพิ่มขึ้น ทำให้แฮมต้องพบกับภาวะไร้น้ำหนักรวมทั้งสิ้น 6.6 นาที นานกว่าแผน 1.7 นาที และยานอวกาศออกนอกเส้นทางเดิมถึง 196 กิโลเมตร แม้จะมีความยุ่งยากมากมาย แฮมก็ยังคงทำงานของมันได้เกือบจะสมบูรณ์แบบ ห้องนักบินของแฮมตกสู่มหาสมุทรแอตแลนติก ไกลจากเป้าหมายมาก ดังนั้นจึงไม่มีพาหนะใดไปช่วยแฮมได้ในทันที ยานของแฮมถูกคลื่นซัด จนพลิกตะแคง และอยู่ในสภาพกึ่งลอยกึ่งจมเป็นเวลาเกือบ 3 ชั่วโมงก่อนที่เฮลิคอปเตอร์ จะไปถึงแล้วเปิดประตูยานออกมาได้
                 มหัศจรรย์อย่างยิ่งที่แฮมยังคงรอดชีวิตและไม่ได้รับอันตรายเลย จากเหตุการณ์นี้ทำให้ สหรัฐอเมริกามั่นใจในโครงการอวกาศของพวกเขา และทำการส่งอลัน เชปพาร์ด ขึ้นสู่อวกาศในวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2504 แต่ก็เป็นการบินแบบกึ่งโคจรเท่านั้น
                 ส่วนแฮมก็ได้รับการเกษียณอายุในวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2506 และย้ายไปอยู่ที่ สวนสัตว์แห่งชาติในกรุงวอชิงตัน
                 ขณะที่อเมริกาทำการทดลองอยู่นี้ ทางซีกโซเวียตก็ยังคงเดินหน้าต่อไปด้วย โซเวียตส่งสุนัขขึ้นสู่อวกาศอีกหลายครั้งเพื่อแผ้วทางให้กับเที่ยวบินมนุษย์ หนึ่งในการเตรียมการนี้คือ การส่งสุนัขสีดำชื่อ เชอร์นุชกา(แปลว่า เจ้าดำ) ไปพร้อมกับหนู และหนูตะเภา ในเที่ยวบินของสปุตนิก 9 เมื่อวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2504 ต่อมาอีกหนึ่งสัปดาห์ก็ ส่ง ซีเวสดอชกา (แปลว่า ดาวน้อย) ไปพร้อมกับหุ่นไม้รูปมนุษย์ อันเป็นการถากถางโดยสมบูรณ์ให้กับยูริ กาการิน มนุษย์คนแรก ในวงโคจรโดยกาการินขึ้นสู่อวกาศในวันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2504 ใช้เวลา 108 นาที โคจรในอวกาศด้วยยานวอสตอก 1
                   เมื่อมนุษย์สามารถท่องอวกาศได้ การใช้สัตว์ก็หมดความจำเป็นลงไป สัตว์ส่วนหนึ่งถูกส่งขึ้นสู่อวกาศ ในช่วงทศวรรษที่ 1960 เพื่อเป็นการปูทางสำหรับภารกิจสู่ดวงจันทร์ รวมทั้งการใช้ชีวิตในอวกาศ เป็นเวลานานในโครงการสกายแล็บ
                  ปลายปี พ.ศ. 2504 สหรัฐ-อเมริกาก็สามารถส่งลิงไปโคจรในอวกาศได้ในวันที่ 29 พฤศจิกายนปีนั้น ลิงชิมแปนซีชื่อ อีนอส ได้กลายเป็นลิงชิมแปนซีตัวแรกในอวกาศ มันโคจรรอบโลก 2 รอบก่อนจะลงมา ซึ่งเป็นการลงก่อนกำหนดอันเนื่องมาจากยานอวกาศทำงานได้ไม่สมบูรณ์ นอกจากนั้นอีนอสยังทำงาน ของมันในเที่ยวบินนี้ได้สมบูรณ์ด้วย ถัดมาในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2505 จอห์น เกล็น ก็กลายเป็น ชาวอเมริกันคนแรกที่ได้ไปโคจรอยู่ในอวกาศรอบโลก
ิิ                 เป็นอันสิ้นสุดนักบินอวกาศจำเป็น
                  จบแล้ครับสำหรับเรื่องราวของเพื่อนร่วมโลกของเราเหล่านั้นได้ทำหน้าที่เป็นตัวแสดงแทนของมนุษย์ และได้ช่วยพิสูจน์ให้โลกเห็นว่า การท่องอวกาศทำได้จริง หากปราศจากไลก้า คุณนายแซมแล้ว ยูริ และอลัน เราอาจไม่รู้จักอวกาศ เราอาจจะได้ได้ยินประโยคอำมตะที่ว่า นี้คือก้าวแรกของมนุษย์ชาติก็ได้ใครจะไปรู้
ปล. เขียนผิดขออภัยมาที่นี้ด้วยเพราะยังไม่ชิมกับระบบเขียนใหม่ งง

0 comments:

Post a Comment